จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันอังคารที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554

กลยุทธศาสตร์การพัฒนา MUK-ITC

คนมุกดาหารจะเป็นผู้ใช้เทคโนโลยีและการสื่อสารให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียน การทำงานการปฏิบัติงาน และธุรกิจด้านต่างๆ ทั้งนี้ "MUK" ประกอบด้วย

  • M= Multi-Skilling การมีทักษะทำงานได้หลากหลาย
  • U=Utility สิ่งที่เป็นประโยชน์
  • K= Knowledge ความรู้ความเข้าใจ
MUK-ITC=Mukdahan will be the Infromation Tecnology City
MUK-ITC=You will be Information Techonology and Communication
    MUK-ICT หมายถึง คนมุกดาหารจะเน้นการเรียนรู้ให้เกิดความรู้ ความเข้าใจในสิ่งที่เป็นประโยชน์เพื่อใช้ทักษะและความสามารถ โดยใช้ ITC
    ขั้นตอนที่ 1 การวางแผนจะอยู่ในขอบเขตของแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศ (ฉับบที่ ๒)ของประเทศไทย พ.ศ.๒๕๕๔-๒๕๕๖ สามารดาวน์โหลดเอกสารได้ที่ (http://www.nstda.or.th/nstda-knowledge/1501-2nd-ict-master-plan-2009-2013)

    ขั้นตอนที่ 2 การกำหนดวัตถุประสงค์การใช้สื่อสารสนเทศ (Set the Media Objectives) 
    1. กลุ่มที่เราต้องการจะสื่อสารถึง (Target Audience) คือ ประชาคมอาเซียน โดยเฉพาะพื้นที่ลุ่มแม่น้ำโขง ซึ่งจังหวัดมุกดาหารเป็นจังหวัดยุทธศาสตร์ด้านการเชื่อมต่อ ด้านการค้าชายแดน ด้านการท่องเที่ยว โดยเฉพาะด้านการศึกษา จังหวัดมุกดาหารมี มหาวิยาลัยอุบลราชธานี วิทยาเขตมุกดาหาร ซึ่งเป็นสถานบันการศึกษาที่จะรองรับการเป็นประชาชนอาเซียนด้านการศึกษา
    2. MUK-ITC จะครอบคลุมพื้นที่ (Geography) กล่าวคือ  โลกในยุคสมัยนี้เป็นยุคของการสื่อสารไร้ขอบเขต พรมแดน ภาษาและเชื้อชาติโดย เฉพาะ Internet นั้นมี ฟังก์ชั่นบน Web Browser ที่อำนวยความสะดวกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น การแปลภาษา การแปลข้อความตัวอักษรเป็นข้อความเสียง  ฯลฯ ดังนั้นจึงสามารถกล่าวได้ว่า MUK-ITC จะครอบคลุมพื้นที่ (Geography) ตรงตาม Target Audience ที่ตั้งไว้
    3. MUK-ITC จะปราฏเมื่อใด (Seasonality)  การที่จังหวัดมุกดาหาร จะกลายเป็น IT MUK-ITC การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นส่วนสำคัญ ไม่ว่าจะเป็น การติดตั้งอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง (ADSL) พร้อมติดตั้งระบบเครือข่ายไร้สาย (WiFi,3G ) พร้อมกับจุดอำนวยความสะดวกเพื่อให้บริการระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไร้สายและมีจุดให้บริการคอมพิวเตอร์ (ฟรี) แต่กำหนดให้ใช้ได้ 15 นาทีเพื่อใช้ในการค้นหาแหล่งท่องเที่ยว และจะทำให้ สื่อสารสนเทศจะสามารถปรากกฎได้ทุกเวลา ตามความต้องการของผู้ใช้สารสนเทศในทุกเขตพื้นที่ MUK-ITC
    4. การเพิ่มน้ำหนักเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการใช้สื่อสารสนเทศ(Media Weight Levels) “สื่อที่กำหนดนั้นมีความพอเพียงหรือไม่?” ซึ่งการพิจารณาเราจะประเมินในรูปของเชิงปริมาณ ในเรื่องของความตระหนักและทัศนคติ เพื่อนำไปสู่เป้าหมายตามที่คาดการณ์ไว้  สิ่งที่เราต้องทำการพิจารณาคือ Rating Points, Reach, Frequency และ GRPs  ในเรื่องการประเมินผลสื่อสารสนเทศ โดยที่ 
    • Rating Point หมายถึงร้อยละ 1 ของประชากรที่จะประเมิน ประชากรหมายถึงจำนวนครัวเรือนในเขตจังหวัดมุกดาหาร คือ จำนวน 100,000 ครัวเรือน(เป็นจำนวนสมมุติ) Rating Point ย่อมหมายถึงร้อยละ 1 ของ  100,000  ครัวเรือนนี้ คือจำนวน 1,000 ครัวเรือน สำหรับ GRP (Gross Rating Point) เป็นการวัดว่า น้ำหนักของสื่อ(การเข้าถึงสื่อสารสนเทศ) มีมากน้อยเพียงใด เมื่อเทียบกับสื่อชนิดอื่นๆ
    • Reach หมายถึง จำนวนครัวเรือน หรือบุคคลที่เข้าถึงสื่อสารสนเทศเราอย่างน้อยหนึ่งครั้ง
    • Frequency หมายถึง จำนวนครั้งโดยเฉลี่ยที่กลุ่มเป้าหมายจะเห็นหรือได้ยินสื่อสารสนเทศของเรา 
    • GRPs จึงแสดงถึงผลรวมทั้งหมดของปริมาณการได้รับการสื่อสารของสื่อสารสนเทศในกลุ่มประชากรทั้งหมด เราสามารถคำนวณได้ดังนี้ คือ Percent Reach X Frequency = Total GRPs                                                           
                 ดังนั้น การเพิ่มน้ำหนักเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการใช้สื่อสารสนเทศ ของ MUK-ITC นอกจากความสอดคล้อง กับข้อ 1-3 แล้ว เราสามารถเพิ่ม Reach และ  Frequench โดยการให้หน่วยงานราชการกำหนดหน้าแรกขอ Website ของหน่วยงานมีIcon MUK-ITC เพื่อเชื่อมต่อกับ Website จังหวัดมุกดาหาร (www.mukdahan.co.th) และการใช้ Social Network ให้เป็นประโยชน์ ซึ่งจะทำให้เกิดกิจกรรมการติดตาม ประชาสัมพันธ์ ทำความเข้าใจกับประชาชน พร้อมยังเป็นช่องทางร้องเรียน ผ่านเครือข่าย หากการใช้ มีจำนวนมากขึ้นจังหวัดมุกดาหารก็จะกลายเป็น MUK-ITC ในที่สุด
    ขั้นตอนที่ 3 ส่งเสริม และให้ความรู้ ด้านเทคโลยีสารสนเทศให้แก่ผู้ด้อยโอกาสทางสังคม ,ผู้พิการ,ผู้ที่ขาดความรู้เทคโนโลยี,รวมทั้งขาดเครือข่ายการสือสาร เช่นระบบ Internet ,ระบบโทรศัพท์ที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดความเสมอภาคในการเรียนรู้และเข้าถึงระบบสารสนเทศ MUK-ITC
    ขั้นตอนที่ 4  บูรณาการเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างเหมาะสม มีการจัดตั้งคณะทำงานเพื่อติดตามประเมินผลสัมฤทธิ์และการดำเนินการสู่เป้าหมายการเป็นสังคมแห่งภูมิปัญญาและเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง


    1 ความคิดเห็น:

    Ibufen กล่าวว่า...

    ดีครับ เทคโนโลยีการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพจะทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการของหน่วยงานและเอกชนได้อย่างรวดเร็ว และผู้ให้บริการเองก็จะสามารถเข้าถึงกลุ่มผู้รับบริการได้อย่างรวดเร็วและคลอบคลุม ซึ่งจะมีประโยชน์ ทั้งกับหน่วยงานราชการ การติดต่อธุรกิจ และภาคการศึกษา ซึ่งถ้าทางจังหวัดให้ความสำคัญเช่นนี้ถือเป็นเรื่องที่ดีมากครับ